สำหรับระบบที่ implement มันแบบ 32 บิท อาจพบปัญหาได้ในปี 2038 เนื่องจากเลขที่ใช้ overflow ครับ
แม้ว่าจะเราจะสามารถเรียกเวลา Unix มาดูได้ แต่มันคงไร้ประโยชน์ถ้าไม่สามารถเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบที่สื่อสารกับคนทั่วไปได้รู้เรื่อง
รูปแบบข้างล่างนี้ถือเป็นมาตรฐานการเขียนแทนเวลาของระบบ Unix ที่สามารถเรียกใช้ได้จากโปรแกรมต่างๆ ครับ
รูปแบบ | ตัวเลข | 0 นำหน้า | ชื่อเต็ม | ชื่อย่อ |
---|---|---|---|---|
วันของสัปดาห์ | %u | %a | %A | |
วันของเดือน | %e | %d | ||
วันของปี | %j | |||
สัปดาห์ | %V | |||
เดือน | %m | %b | %B | |
ปี | %y | %Y | ||
เขตเวลา | %z | %Z | ||
12 ชั่วโมง | %l | %I | %p | |
24 ชั่วโมง | %k | %H | ||
นาที | %M | |||
วินาที | %S |
นอกจากนี้ ยังมีรูปแบบที่ใช้บ่อยๆ ที่ถูกเก็บเป็นตัวย่อไว้ให้เรียกใช้ ดังนี้
%s =
เวลา Unix%D = %m/%d/%y
%F = %Y-%m-%d
%r = %I:%M:%S %p
%R = %H:%M
%T = %H:%M:%S
%c = %a %b %d %H:%M:%S %Y
สำหรับค่าเริ่มต้นเมื่อไม่ได้กำหนดรูปแบบเป็นพิเศษ จะได้รูปแบบเป็น
%c
เช่น Tue Feb 14 16:03:42 2012 ครับอย่างไรก็ตาม โปรแกรมต่างๆ อาจมีวิธีเรียกใช้ค่าเหล่านี้แตกต่างกันไปบ้าง อย่าลืมเช็คกับเอกสารประจำโปรแกรมนั้นๆ ด้วยนะครับ
ปล. ไหนๆ วันนี้ก็วันแห่งความรักทั้งที รู้จักเวลา Unix ไปแล้ว ก็อย่าลืมแบ่งเวลาไปใส่ใจเธอด้วยนะครับ :P
No comments:
Post a Comment