November 30, 2012

Haskell: เกร็ดน่ารู้ก่อนเริ่มใช้งาน

จากตอนที่ผ่านมา จะเห็นว่าแบบ interactive นั้นไม่ต้องเขียน main = do ขึ้นต้น นั่นเป็นเพราะว่าเมื่อเริ่ม ghci เราจะเข้ามาอยู่ด้านในของ main ที่ว่านั้นทันที ซึ่งการเขียน code ภายใน main จะมีกฏที่ต่างออกไปเล็กน้อยด้วย

ความสะดวกอย่างอื่นๆ ของตัว interactive
  • แสดงผลลัพท์จากคำสั่งที่พิมพ์เข้าไปทันที (read-eval-print-loop)
  • ทำ keyword completion ด้วย tab
  • macro สำหรับการ debug โดยใช้เครื่องหมาย colon ตามด้วย command (เช่น :q ที่ได้เจอไปแล้ว)
อย่างไรก็ตาม ตัว interactive นั้นไม่รองรับการเขียนหลายบรรทัดเป็นค่าเริ่มต้น ถ้าต้องการเขียนหลายบรรทัด ให้เริ่มด้วย :{ และขึ้นบรรทัดใหม่ แล้วค่อยเริ่มส่วน code เรียบร้อยแล้วจบด้วยบรรทัดที่มีแต่ :} ครับ

อนึ่ง เครื่องหมายหน้าบรรทัดที่บอกว่ากำลังอยู่ใน interactive จะเขียนว่า Prelude> ซึ่งต่อไปเมื่อทำการ load module เยอะๆ แล้ว ข้อความตรงนี้จะเปลี่ยนไปบอกว่า load อะไรมาแล้วบ้าง (ซึ่งอาจจะยาวมาก) ดังนั้น ที่นี้จะใช้แค่ ghci> แทน (สามารถ set ให้เป็นข้อความนี้ได้ด้วย :set prompt "ghci>" ครับ)



ส่วนการเขียนโปรแกรมเก็บเป็นไฟล์นั้น นอกจากจะใช้ ghc เพื่อ compile เป็น binary code ออกมาทดสอบแล้ว ยังมี runhaskell ที่อ่านไฟล์แล้วรันให้ทันทีโดยไม่สร้างไฟล์พวก .o, .hi หรือตัว binary code ให้ แน่นอนว่ามันจะทำงานได้ช้ากว่าแบบ binary code เพราะไม่โดน optimize ด้วยตัว compiler และยังต้องแปลใหม่ทุกครั้งที่เรียกใช้ครับ

ก็เลือกใช้ ghci, ghc และ runhaskell กันตามความเหมาะสมนะครับ



ด้านนามสกุลไฟล์นอกจาก .hs แล้ว ก็มี .lhs ซึ่งเป็นไฟล์ที่เน้นการเขียนโปรแกรมแบบเอกสาร แล้วแทรก code ตามจุดต่างๆ (literate programming) ตัวอย่างก็เช่น


โปรแกรมนี้จะแสดงผลลัพท์เช่นเดียวกับตอนที่แล้ว อย่างไรก็ตามส่วนที่อธิบายโปรแกรมนั้น ไม่ได้ส่งผลให้เกิดความแตกต่างของ binary code แต่อย่างใด

ส่วนการ comment source ใน Haskell แบบบรรทัดเดียวใช้ -- เพื่อ comment ข้อความจนจบบรรทัด และแบบหลายบรรทัดใช้ {- กับ -} ครอบส่วนที่ต้องการ comment

ในที่นี้จะไม่ใช้ comment ให้ดู เนื่องจากตัว syntax highlighter ไม่ระบายสีให้ครับ :P

1 comment:

  1. : ตามด้วยคำสั่งเหมือน vi เลยแฮะ

    ReplyDelete